วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2555

Past Simple Tense

 
Subject + verb ช่องที่ 2


หลักการใช้ Past Simple Tense
1. ใช้แสดงถึงการกระทำหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตและสิ้นสุดลงแล้ว โดยจะระบุเวลาไว้อย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น
- Mark arrived at 7 o'clock yesterday.
- Joe bought a new car last week.
- The train stopped five minutes ago.
- They studied French last term.
2. ใช้แสดงถึงการกระทำที่เป็นนิสัยหรือเกิดขึ้นเป็นประจำในอดีต แต่ไม่ได้เกิดขึ้นแล้วในปัจจุบัน มักมี adverbs of frequency ที่แสดงความบ่อยรวมอยู่ในประโยคเช่น
always, usually, often, every........เป็นต้น และต้องมีคำบอกเวลาในอดีตแสดงไว้ด้วย ตัวอย่างเช่น
- It often rained last week.
- He always played tennis last year.
- Jim drank coffee every two hours last night.
- They swam every evening last year.

3. ใน Past Simple Tense สามารถใช้
used to +คำกริยาช่องที่ 1 (เคย) แสดงถึงการกระทำที่กระทำอยู่ หรือที่เป็นอยู่เป็นประจำในอดีต ตัวอย่างเช่น
- Sam used to travel to Japan on business.
- She used to work here.
- They used to live in Chiang Mai.หลักการเปลียนคำกริยาให้เป็น Past Tense
การเปลี่ยนรูปคำกริยาเป็น Past Tense มี 2 วิธี คือ

1, การเติม ed ที่ท้ายคำกริยาช่องที่ 1 (Regular Verb) มีหลักการดังนี้

1.1 คำกริยาโดยทั่วไปเมื่อเปลี่ยนเป็นคำกริยาช่องที่ 2 ให้เติม ed ได้เลย เช่น
clean - cleaned
help - helped
watch - watched
1.2 คำกริยาที่ลงท้ายด้วย e อยู่แล้ว ให้เติม d ได้ทันทีเช่น
like - liked
bake - baked
live - lived
1.3 คำกริยาที่เป็นพยางค์เดียว มีสระตัวเดียว ตัวสะกดตัวเดียว ให้เพิ่มตัวสะกดตัวท้ายอีกหนึ่งตัวก่อน แล้วจึงเติม ed เช่น
stop - stopped
fit - fitted
plan - planned
1.4 คำกริยาที่มี 2 พยางค์ ออกเสียงเน้นหนักพยางค์หลังให้เพิ่มตัวสะกดตัวท้ายอีกหนึ่งตัวก่อน แล้วจึงเติม ed
prefer - preferred
control - controlled
1.5 คำกริยาที่ลงท้ายด้วย yและหน้า y เป็นพยัญชนะ ให้เปลี่ยน y เป็น i แล้วจึงเติม ed เช่น
study - studied
cry - cried
carry - carried
แต่ถ้าหน้า y เป็นสระให้เติม ed ได้เลย เช่น
play played
stay - stayed
การทำให้เป็นประโยคคำถาม 
1. ให้สังเกตว่าในประโยคมีกริยาช่วยหรือไม่ ถ้ามีให้นำกริยาช่วยมาวางไว้หน้าประโยคและใส่ เครื่องหมาย ?(question mark)ดังนี้
- He was in the bathroom five minutes ago.
Was he in the bathroom five minutes ago?
Yes, he was./No,he wasn't.
2. ถ้าในประโยคนั้นไม่มีกริยาช่วย ให้ใช้ did มาช่วย ( ประธานทุกตัวใช้ did) โดยนำ did มาวางไว้หน้าประโยค ตามด้วยประธานและกริยาต้องอยู่ในรูปเดิม( ช่องที่ 1) ท้ายประโยคใส่เครื่องหมาย?(question mark)
Cathy lived with her parents.
Did Cathy live with her parents?
Yes, she did. / No, she didn't.

การทำให้เป็นประโยคปฏิเสธ
1. ถ้าในประโยคมีกริยาช่วยให้ใส่ not หลังกริยาช่วยนั้น เช่น
I was tired.
I was not tired หรือ I wasn't tired.
2. ถ้าไม่มีกริยาช่วยให้ใช้ did มาช่วย (ประธานทุกตัวใช้ did) แล้วใส่ not หลัง did และ
กริยาช่องที 2 ต้องเปลี่ยนเป็นกริยาช่องที่ 1
Ben danced yesterday.
Ben did not (didn't) dance yesterday.
Angela saw the dentist last week.
Angela did not (didn't) see the dentist last week
โดยทั่วไปประโยค Past Simple Tense มักมี Adverb of time ที่แสดงเวลารวมอยู่ในประโยคด้วย
เช่น yesterday, last night, last Friday,
last week, last month, last year, in 1998, just now

หมายเหตุ เราอาจใช้ เวลา+ agoเพื่อแสดงเวลาในอดีตก็ได้เช่น ten minutes ago,
two hours ago, three days ago, two years ago, a long time ago
สรุปตัวอย่างประโยค Past Simple Tense
ประโยคบอกเล่าประโยคปฏิเสธประโยคคำถาม
I went to Bangkok last week.
I did not go to Bangkok
last week.
Did I go to Bangkok last week?
You went to Bangkok last week.
You did not go to Bangkok last week.
Did you go to Bangkok last week?
We went to Bangkok last week.
We did not go to Bangkok last week.
Did we go to Bangkok last week?
They went to Bangkok last week.
They did not go to Bangkok last week.
Did they go to Bangkok last week?
He went to Bangkok last week.
He did not go to Bangkok last week.
Did he go to Bangkok last week?
She went to Bangkok last week.
She did not go to Bangkok last week.
Did she go to Bangkok last week?
It ran away yesterday.
It did not run away yesterday.
Did it run away yesterday?

วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554

Christmas

  
 

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

         ถึงช่วงปลายปีทีไร ชาวไทยเราก็มีเรื่องฉลองอีกแล้ว ไม่ว่าจะเป็นวันปีใหม่หรือวันคริสต์มาสที่กำลังจะเข้ามาถึง แม้ว่าวันคริสต์มาสนี่ดูเหมือนจะไม่ค่อยเกี่ยวข้องกับคนไทยที่นับถือศาสนาพุทธสักเท่าไร แต่พี่ไทยซะอย่าง ฉลองได้ทุกเทศกาลอยู่แล้ว แต่ก่อนที่จะไปฉลองกัน ลองมารู้จักกับวันคริสต์มาสก่อนดีไหม

ตำนานวันคริสต์มาส

          คำว่า "คริสต์มาส" เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Christmas มาจากคำภาษาอังกฤษโบราณว่า Christes Maesse ที่แปลว่า "บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า" ซึ่งพบครั้งแรกในเอกสารโบราณที่เป็นภาษาอังกฤษในปี ค.ศ. 1038 และในปัจจุบันคำนี้ก็ได้เปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas

          เทศกาล Christmas หรือ X’Mas ตรงกับวันที่ 25 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งวันที่ 25 ธันวาคมนั้นเป็นวันประสูติของพระเยซู ศาสดาแห่งศาสนาคริสต์ โดยพระองค์ประสูติที่เมืองเบ็ธเลเฮ็มและเติบโตที่เมืองนาซาเรท ซึ่งปัจจุบันคือประเทศอิสราเอล ตามหลักฐานในพระคัมภีร์ได้บันทึกไว้ว่า พระเยซูเจ้าประสูติในสมัยที่จักรพรรดิซีซาร์ ออกุสตุส แห่งจักรวรรดิโรมัน ซึ่งทรงสั่งให้จดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งแผ่นดิน โดยฝ่ายคีรีนิอัส เจ้าเมืองซีเรียก็รับนโยบายไปปฏิบัติให้มีการจดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งอาณาเขต แต่ในพระคัมภีร์ ไม่ได้ระบุว่า พระเยซูประสูติวันหรือเดือนอะไร

           ด้านนักประวัติศาสตร์ก็มีความเห็นที่ต่างออกไปโดยได้วิเคราะห์ว่า เดิมทีวันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันที่จักรพรรดิเอาเรเลียนแห่งโรมัน กำหนดให้เป็นวันฉลองวันเกิดของสุริยะเทพ ตั้งแต่ปี ค.ศ.274 ชาวโรมันซึ่งส่วนใหญ่นับถือเทพเจ้าฉลองวันนี้เสมือนว่า เป็นวันฉลองของพระจักรพรรดิไปในตัวด้วย เพราะจักรพรรดิก็เปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ ที่ให้ความสว่างแก่ชีวิตมนุษย์ แต่ชาวคริสต์ที่อยู่ในจักรวรรดิโรมัน รวมถึงชาวโรมันที่เปลี่ยนไปนับถือคริสต์อึดอัดใจที่จะฉลองวันเกิดของสุริยเทพ จึงหันมาฉลองการบังเกิดของพระเยซูซึ่งเปรียบเสมือนความสว่างของโลก และเหมือนดวงจันทร์เป็นความสว่างในตอนกลางคืนแทน หลังจากที่ชาวคริสต์ถูกควบคุมเสรีภาพทางศาสนาตั้งแต่ปี ค.ศ. 64-313 จนถึงวันที่ 25 ธันวาคม ปี ค.ศ.330 ชาวคริสต์จึงเริ่มฉลองคริสต์มาสอย่างเป็นทางการและเปิดเผย

          เทศกาลคริสต์มาสจึงเป็นวันแห่งการเฉลิมฉลองวันประสูติของพระเยซู และเป็นการฉลองความรักที่พระเจ้ามีต่อมนุษย์โลก โดยส่งบุตรชาย คือ "พระเยซู" ลงมาเกิดเป็นมนุษย์เพื่อช่วยไถ่บาป และช่วยให้มนุษย์รอดพ้นจากการทำชั่วนั่นเอง ดังนั้นในวันนี้ถือเป็นวันที่มีความหมายสำคัญชาวคริสต์ทั่วโลก และมีการส่งบัตรอวยพร ให้ของขวัญ แก่กันและกัน รวมทั้งประดับประดาตกแต่งบ้านเรือนด้วยแสงไฟ และต้นคริสต์มาสอย่างสวยงาม


องค์ประกอบในงานคริสต์มาส

 ซานตาครอส
เป็นสิ่งแรกๆ ที่คนจะนึกถึงในฐานะสัญลักษณ์ของวันคริสต์มาส ซึ่งว่ากันว่าซานตาคลอสคนแรก คือ นักบุญ (เซนต์) นิโคลัส ผู้เป็นสังฆราชแห่งเมืองไมรา มีชีวิตอยู่ในศตวรรษที่ 4 และเหตุที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นซานตาครอสคนแรก มาจากวันหนึ่งที่ท่านปีนขึ้นไปบนหลังคาบ้านของเด็กหญิงยากจนคนหนึ่ง แล้วทิ้งถุงเงินลงไปทางปล่องไฟ บังเอิญถุงเงินหล่นไปทางถุงเท้าที่เด็กหญิงแขวนตากไว้ข้างเตาผิงพอดี
 

          นักบุญนิโคลัส นั้นเป็นนักบุญที่ชาวฮอลแลนด์นับถือว่าเป็นนักบุญผู้อุปถัมภ์ของเด็กๆ เมื่อชาวฮอลแลนด์กลุ่มหนึ่งอพยพไปอยู่ในสหรัฐฯ ก็ยังรักษาประเพณีการฉลองนักบุญ นิโคลาส ในวันที่ 5 ธันวาคม เอาไว้ ซึ่งหมายถึงนักบุญนี้จะมาเยี่ยมเด็กๆ และเอาของขวัญมาให้เด็กอื่นๆ ที่ไม่ใช่ลูกหลานของชาวฮอลแลนด์ที่อพยพมา ประเพณีนี้จึงเริ่มเป็นที่รู้จักและแพร่หลายในอเมริกา โดยมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง คือ ชื่อนักบุญนิโคลัสก็เปลี่ยนเป็น ซานตาคลอส และแทนที่จะเป็นสังฆราชก็กลายเป็นชายแก่ที่อ้วนและใส่ชุดสีแดง อาศัยอยู่ที่ขั้วโลกเหนือ มีเลื่อนเป็นยานพาหนะที่มีกวางเรนเดียร์ลาก และจะมาเยี่ยมเด็กทุกคนในโลกนี้ในโอกาสคริสต์มาส โดยลงมาทางปล่องไฟของบ้านเพื่อเอาของขวัญมาให้เด็กเหล่านั้นตามความประพฤติของเขา

          ถึงแม้ซานตาคลอสจะเป็นเพียงตำนานที่เกิดขึ้นมาเพื่อเฉลิมฉลองวันคริสต์มาสก็ตาม แต่ก็เป็นสัญลักษณ์ที่รวมเอาวิญญาณและความหมายของคริสต์มาสไว้อย่างมากมาย อาทิ ความปิติยินดีชื่นชม ความโอบอ้อมอารี ความรัก และความเป็นกันเอง

 ถุงเท้า           จากที่นักบุญนิโคลัสได้ปีนขึ้นไปบนปล่องไฟของบ้านเด็กหญิงยากจน เพื่อที่จะมอบเหรียญเงินให้เป็นของขวัญ แต่เหรียญนั้นกลับตกไปอยู่ในถุงเท้าที่เด็กหญิงแขวนตากไว้หน้าเตาผิง พอรุ่งเช้าเด็กหญิงตื่นมาเจอเหรียญเงินในถุงเท้าจึงดีใจมาก และกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการที่ผู้คนมากมายต่างพากันแขวนถุงเท้าคริสต์มาสไว้ เพื่อหวังจะได้รับของขวัญเช่นเดียวกันบ้าง


 ต้นคริสต์มาส
          นอกจากนี้อีกอย่างที่ขาดไม่ได้ก็คือ ต้นคริสต์มาส ซึ่งต้นคริสต์มาสก็คือต้นสนที่นำมาประดับประดาด้วยลูกแอปเปิ้ลและขนมปังเพื่อระลึกถึงศีลมหาสนิท และก็ได้มีวิวัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยจนมาถึงการประดับด้วยดวงไฟหลากสีสัน ขนม และของขวัญ อย่างในทุกวันนี้ การตกแต่งแบบนี้ต้องย้อนไปในศตวรรษที่ 8 เมื่อเซนต์บอนิเฟส มิชชันนารีชาวอังกฤษที่เดินทางไปประกาศเรื่องพระเจ้าในเยอรมนี ได้ช่วยเด็กที่กำลังจะถูกฆ่าเป็นเครื่องสังเวยบูชาที่ใต้ต้นโอ๊ก
          โดยเมื่อโค่นต้นโอ๊กทิ้งก็ได้พบต้นสนเล็กๆ ต้นหนึ่งขึ้นอยู่ที่โคนต้นโอ๊ก ท่านจึงขุดให้คนที่ร่วมพิธีกรรมเหล่านั้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของชีวิต และตั้งชื่อว่า ต้นกุมารพระคริสต์ ต่อมา มาร์ติน ลูเธอร์ ผู้นำคริสตจักรชาวเยอรมัน ตัดต้นสนไปตั้งในบ้านในเดือนธันวาคม ปี ค.ศ.1540 หลังจากนั้นในศตวรรษที่ 19 ต้นคริสต์มาสจึงเริ่มแพร่ไปสู่ประเทศอังกฤษและทั่วโลก และอีกเหตุผลที่ใช้ต้นสนก็เพราะว่ามันหาง่าย

          ในสมัยโบราณนั้นต้นคริสต์มาส หมายถึง ต้นไม้ในสวนสวรรค์ ซึ่งอาดัมและเอวาไปหยิบผลไม้มากิน และทำบาป ไม่เชื่อฟังพระเจ้า โดยตามพระคัมภีร์นั้นได้เปรียบพระเยซูเจ้าเสมือนเป็นต้นไม้แห่งชีวิต ซึ่งเป็นต้นไม้ที่เขียวเสมอในทุกฤดูกาล สื่อถึงนิรันดรภาพของพระเยซูเจ้า อีกทั้งความสว่างของพระองค์ยังเหมือนแสงเทียนที่ส่องสว่างในความมืด และรวมถึงความชื่นชมยินดี และความสามัคคี ที่พระเยซูประทานให้ เพราะต้นไม้นั้นเป็นจุดศูนย์รวมของครอบครัวในเทศกาลคริสต์มาส


 ต้นฮอลลี่

          ต้นฮอลลี่ เป็นต้นไม้พุ่มเตี้ย และเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของวันคริสต์มาส เชื่อกันว่า สีเขียวของต้นฮอลลี่มีความหมายถึง การมีชีวิตอยู่ชั่วนิรันดร์ และมีความสัมพันธ์กับพระเยซู โดยผลสีแดงของต้นฮอลลี่นั้นหมายถึงหยดเลือดของพระเยซูที่ไหลลงบนไม้กางเขน ซึ่งเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของความรักที่มีต่อพระเจ้า ใบไม้ที่มีหนามของต้นฮอลลี่เป็นสิ่งที่เตือนพวกเราถึงมงกุฏหนามที่พวกชาวทหารโรมันได้นำมาวางไว้บนศีรษะของพระเยซูคริสต์


 ดอกไม้คริสต์มาส หรือ Poinsettia
          ตำนานของดอก Poinsettia ที่กลายมาเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของวันคริสต์มาส มาจากเรื่องราวของเด็กหญิงจนๆ คนหนึ่ง ที่ต้องการหาของขวัญไปมอบให้พระแม่มารีในวันคริสต์มาสอีฟ แต่เนื่องจากเธอไม่มีสิ่งของใดๆ ติดตัว จึงเดินทางไปตัวเปล่า และระหว่างทางเธอได้พบกับนางฟ้าที่บอกให้เธอเก็บเมล็ดพืชไว้ ต่อมาเมล็ดพืชนั้นกลับเจริญเติบโตเปลี่ยนเป็นดอกไม้สีเลือดหมูสดใส ซึ่งก็คือดอก Poinsettia ตั้งแต่นั้นดอก Poinsettia ก็ได้รับความนิยมใช้ประดับประดาบ้านในงานคริสต์มาส
 ดอกคริสต์มาส Christmas Rose
          มีต้นกำเนิดที่ประเทศอังกฤษ ลักษณะเป็นดอกสีขาว และมักออกดอกในช่วงฤดูหนาว ตำนานของดอกคริสต์มาสนี้มีอยู่ว่า ในช่วงที่พระเยซูประสูติ มีผู้รอบรู้ 3 คน กับคนเลี้ยงแกะเดินทางมาพบพระเยซู ระหว่างทางพวกเขาพบกับ มาเดลอน เด็กหญิงที่เลี้ยงแกะคนหนึ่ง เมื่อเธอทราบว่าทั้งหมดเดินทางมาเพื่อมอบของขวัญให้พระเยซู มาเดลอนก็เสียใจที่ไม่มีของขวัญใดไปมอบให้พระเยซูบ้าง ก่อนที่นางฟ้าที่เฝ้ามองเธออยู่จะเกิดความเห็นใจจึงร่ายมนตร์เสกดอกไม้สีขาวน่ารักและมีสีชมพูอยู่ตรงปลายกลีบให้เธอ และดอกไม้นั้นคือ ดอกคริสต์มาสนั่นเอง

 เพลงวันคริสต์มาส          เพลงคริสต์มาสเริ่มมีขึ้นในศตวรรษที่ 5 แต่งโดยพระสงฆ์และฆราวาส มีเนื้อร้องเป็นภาษาลาติน ลักษณะของเพลงเป็นแบบสง่า เน้นถึงความหมายของการเสด็จมาของพระเยซูเจ้า แต่ในศตวรรษที่ 12 ได้มีการแต่งในท่วงทำนองที่ร่าเริงสนุกสนานมากขึ้น เริ่มจากประเทศอิตาลี โดยนักบุญฟรังซิส อัสซีซี และนักบวชคณะฟรังซิสกัน เป็นผู้สนับสนุน ให้มีเพลงคริสต์มาสแบบใหม่

          เพลงคริสตมาสแบบใหม่นี้ เป็นที่ชื่นชอบของชาวบ้าน เพราะมีท่วงทำนองที่ร่าเริงกว่า และเน้นถึงความชื่นชมยินดีในโอกาสคริสต์มาส เพลงเหล่านี้มีทั้งที่เป็นภาษาลาติน และภาษาพื้นเมือง เพลงหนึ่งที่แต่งในสมัยนั้น (แต่งคำร้องในปี ค.ศ.1274) และยังใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน คือ เพลง Oh Come, All Ye Faithful หรือ Adeste Fideles ในภาษาลาติน เพลงคริสต์มาสที่นิยมร้องมากที่สุดในปัจจุบันได้แต่งขึ้นในศตวรรษที่ 19 จากประเทศเยอรมัน และประเทศอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ เพลงที่มีชื่อเสียงมากได้แก่ เพลง Silent Night, Holy Night

          ความเป็นมาของเพลงนี้มาจากวันก่อนวันฉลองคริสต์มาส ของปี ค.ศ.1818 คุณพ่อโจเซฟ โมห์ (Joseph Mohr) เจ้าอาวาสวัดที่โอเบิร์นดอฟ (Oberndorf) ประเทศออสเตรีย ได้ข่าวว่าออร์แกนในวัดเสีย ทำให้วงขับร้องไม่สามารถร้องเพลงตามที่ซ้อมไว้ได้ จึงมีการแต่งเพลงคริสต์มาสใหม่ นำไปให้เพื่อนชื่อ ฟรานซ์ กรูเบอร์ (Franz Gruber) ใส่ทำนองในคืนวันที่ 24 นั่นเอง และเล่นเพลง Silent Night เป็นครั้งแรก โดยมีการเล่นกีตาร์ประกอบการขับร้อง ซึ่งกลายเป็นเพลงที่นิยมมากที่สุดทั่วโลก
 คำอวยพรวันคริสต์มาส
          ในวันคริสต์มาสเรามักจะใช้คำอวยพรให้แก่กันและกันว่า Merry X'mas คำว่า Merry ในภาษาอังกฤษโบราณ แปลว่า "สันติสุขและความสงบทางใจ" คำนี้จึงเป็นคำที่ใช้อวยพรขอให้เขาได้รับสันติสุขและความสงบทางใจ และได้จัดให้มีการฉลองเพื่อระลึกถึงการบังเกิดของพระเยซู ที่เขายกย่องเหมือนกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งสากลโลก ผู้ทรงเกียรติเลอเลิศ ประเพณีนี้ได้เริ่มมาจากรุงโรมในศตวรรษที่ 4 และค่อยๆ เผยแพร่ไปทุกทวีป

 สีประจำวันคริสต์มาส
สีที่เกี่ยวข้องในวันคริสต์มาสประกอบด้วย
          สีแดง : เป็นสีของผลฮอลลี่ หรือซานตาครอส เป็นสีของเดือนธันวาคม ที่แสดงถึงความตื่นเต้น และหากเป็นสัญลักษณ์ตามศาสนา สีแดงจะหมายถึง ไฟ, เลือด และความโอบอ้อมอารี

          สีเขียว : เป็นสีของต้นไม้ สัญลักษณ์ของธรรมชาตื หมายถึงความอ่อนเยาว์และความหวังที่จะมีชีวิตเป็นนิรันดร์ เปรียบได้กับว่าเทศกาลคริสต์มาสคือเทศกาลแห่งความหวัง

          สีขาว : เป็นสีของหิมะ และเป็นสัญลักษณ์ทางศาสนา คือแสงสว่าง ความบริสุทธิ์ ความสุข และความรุ่งเรือง สีขาวนี้จะปรากฎบนเสื้อคลุมนางฟ้า, เคราและชายเสื้อของซานตาครอส

          สีทอง : เป็นสีของเทียนและดวงดาว เป็นสัญลักษณ์ของแสงอาทิตย์และความสว่างไสว


 การทำมิสซาเที่ยงคืน          การถวายมิสซานี้เกิดขึ้นหลังจากพระสันตะปาปาจูลีอัสที่ 1 ได้ประกาศให้วันที่ 25 ธันวาคมเป็นวันฉลองพระคริสตสมภพ (วันคริสต์มาส) ในปีนั้นเองพระองค์และสัตบุรุษ ได้พากันเดินสวดภาวนา และขับร้องไปยังตำบลเบธเลเฮม และไปยังถ้ำที่พระเยซูเจ้าประสูติ เมื่อไปถึงตรงกับเวลาเที่ยงคืนพอดี พระสันตะปาปาทรงถวายบูชามิซซา ณ ที่นั้น เมื่อเดินทางกลับมาที่พักได้เวลาตี 3 พระองค์ก็ถวายมิสซาอีกครั้ง และ สัตบุรุษเหล่านั้นก็พากันกลับ แต่ยังมีสัตบุรุษหลายคนไม่ได้ร่วมขบวนไปด้วยในตอนแรก พระสันตะปาปาก็ทรงถวายบูชามิสซาอีกครั้งหนึ่งเป็นครั้งที่ 3 เพื่อสัตบุรุษเหล่านั้น ด้วยเหตุนี้เองพระสันตะปาปาจึงทรงอนุญาตในพระสงฆ์ถวายบูชามิสซาได้ 3 ครั้ง ในวันคริสต์มาส เหมือนกับการปฏิบัติของพระองค์ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจึงมีธรรมเนียมถวายมิสซาเที่ยงคืน ในวันคริสต์มาส และพระสงฆ์ก็สามารถถวายมิสซาได้ 3 มิสซา ในโอกาสวันคริสต์มาส
 เทียนและพวงมาลัย

         พวงมาลัยนั้นเป็นสัญลักษณ์ที่คนสมัยก่อนใช้หมายถึงชัยชนะ แต่สำหรับการแขวนพวงมาลัยในวันคริสต์มาสนั้น หมายถึงการที่พระองค์มาบังเกิดในโลก และทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างครบบริบูรณ์ตามแผนการณ์ของพระเป็นเจ้า ซึ่งธรรมเนียมนี้ เกิดจากกลุ่มคริสตชนกลุ่มหนึ่งในประเทศเยอรมันได้เอากิ่งไม้มาประกอบเป็นวงกลมคล้ายพวงมาลัย แล้วเอาเทียน 4 เล่ม วางไว้บนพวงมาลัยนั้น ในตอนกลางคืนของวันอาทิตย์แรกของเทศกาลเพื่อเตรียมรับเสด็จ ทุกคนในครอบครัวจะจุดเทียนหนึ่งเล่ม สวดภาวนา และร้องเพลงคริสต์มาสร่วมกันเป็นเวลา 4 อาทิตย์ก่อนถึงวันคริสต์มาส ประเพณีเป็นที่นิยมอยางมากในประเทศอเมริกา ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงโดยนำเทียน 1 เล่มนั้นมาจุดไว้ตรงกลางพวงมาลัยสีเขียว และนำไปแขวนไว้ที่หน้าต่าง เพื่อเป็นการเตือนให้คนที่เดินผ่านไปมาได้รู้ว่าใกล้ถึงวันคริสต์มาสแล้ว ส่วนเหตุผลที่พวงมาลัยมีสีเขียวนั้น เป็นเพราะมีการเชื่อกันว่าสีเขียวจะช่วยป้องกันบ้านเรือนจากพวกพลังอันชั่ว ร้ายได้

 ระฆังวันคริสต์มาส
          เสียงระฆังในวันคริสต์มาสคือการเฉลิมฉลองให้กับการประสูติของพระพุทธเจ้า โดยมีตำนานเล่าว่า มีการตีระฆังช่วงก่อนเวลาเที่ยงคืนของวันคริสต์มาสเพื่อลดพลังความมืด และบ่งบอกถึงความตายของปีศาจ ก่อนที่พระเยซูผู้ที่จะมาช่วยไถ่บาปให้กับมวลมนุษย์จะถือกำเนิดขึ้น และระฆังนี้มีเสียงดังกังวาลนานนับชั่วโมง ก่อนที่ในเวลาเที่ยงคืนเสียงระฆังนี้จะกลับกลายมาเป็นเสียงแห่งความสุข


 ดาว
          ดาว ในความหมายของชาวคริสต์เตียน หมายถึงการแสดงออกที่ดีของพระเยซูคริสต์ ที่บัญญัติไว้ในพระคัมภีร์ไบเบิ้ลว่า "The bright and morning star" มีความหมายพิเศษเหมือนกับว่า ดวงดาวเหล่านั้นได้แบ่งที่อยู่กับสรวงสวรรค์ ไม่ว่าจะมีกำแพงอะไรขวางกั้นระหว่างพื้นผิวโลกด้วยก็ตาม

 เครื่องประดับและแอปเปิ้ล                          

          ในบางแห่งเชื่อว่า ลำต้นของแอปเปิ้ล มองดูคล้ายกับต้นไม้ในสรวงสวรรค์ จึงมีการนำเอาแอปเปิ้ลมาประดับตามต้นไม้ในวันคริสต์มาส ส่วนเครื่องประดับชิ้นเล็กๆ ที่ตกแต่งต้นคริสต์มาสนั้นเป็นงานศิลปะที่จำลองจากผลไม้ และที่มีสีสันสดใสนั้นเพื่อให้เกิดความรื่นเริงในบ้าน อีกทั้งแสงระยิบระยับที่สะท้อนไปมา ยังดูสวยงามคล้ายแสงเทียนและแสงไฟ


 ของขวัญวันคริสต์มาส
                     
          การแลกเปลี่ยนของขวัญในวันคริสต์มาสนั้น เริ่มต้นจากเมือง Saturnalia ในช่วงยุคโรมัน ต่อมาชาวคริสต์รับประเพณีนี้เข้ามา ด้วยความเชื่อว่า การให้ของขวัญนี้มีความเกี่ยวเนื่องกับของขวัญประเภททอง, ยางสนที่มีกลิ่นหอม และ ยางไม้หอม ซึ่งพวกนักเวทย์จากตะวันออกที่เดินทางมาคารวะพระเยซูคริสต์ นำมาให้ตอนที่ท่านประสูติ

          ทั้งหมดนั้นก็คือการเฉลิมฉลองให้กับพระเยซู ที่เกิดมาเพื่อชำระบาปให้แก่ชาวคริสต์ทั้งหลาย และเป็นเทศกาลที่นำความสุข สนุกสนาน มาสู่หมู่มวลมนุษย์ 

วันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบ TPR


 
 
 usernamepassword 
   
 
ข่าวการศึกษา์
ห้องพักครู
แผนการสอน
บันทึกคุณครู
Tip & tricks
สหกรณ์เพื่อนครู
กม. และ พรบ.
 

 
หน้าแรก | มุมคุณครู | Tips & Tricks 
 
  
   
เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบ TPR
  

การเรียนภาษาอังกฤษเป็นเรื่องยากที่ต้องใช้ความพยายามในการฝึกฝน หรือต้องมีใจรักจึงจะเรียนภาษาอังกฤษได้ดี แต่การเป็นครูสอนภาษาอังกฤษที่ดียิ่งยากมากกว่าหลายเท่า แต่ถึงอย่างไร ครูที่รักการสอนภาษาอังกฤษ ก็มีเทคนิคและวิธีที่จะทำให้ลูกศิษย์สามารถเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้ดีหลายวิธี ดังนี้

เทคนิคการสอนภาษาด้วย TPR - Total Physical Response หมายถึง การสอนภาษาโดยการใช้ท่าทาง โดยให้ผู้เรียนฟังคำสั่งจากครูแล้วผู้เรียนทำตาม เป็นการประสานการฟังกับการใช้การเคลื่อนไหวของร่างกายเป็นการตอบรับให้ทำตามโดยผู้เรียนไม่ต้องพูด วิธีสอนภาษาโดยการใช้ท่าทางใช้สำหรับการเริ่มต้นเรียนภาษาที่ 2

ประเภทของ TPR

  1. TPR - B (Total Physical Response - Body) เป็นการสอนโดยใช้คำสั่งที่มีคำศัพท์ เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย (body movement) เช่น นั่งลง (sit down) ยืนขึ้น (stand up) เลี้ยวซ้าย (turn left) เลี้ยวขวา (turn right) เดินหน้า (go straight) ถอยหลัง (back) กระโดด (jump) ปรบมือ (clap your hand) หยุด (stop) กลับหลังหัน (turn around) ชูมือขึ้น (raise your hand) เอามือลง (put down your hand) โบกมือ(wave your hand) เป็นต้น กิจกรรมหรือเกมที่ใช้อาจใช้เกม Simon Says เช่น Simon Says touch your Norse ถ้า ไม่ได้พูดคำว่า Simon Says ไม่ต้องทำตาม

    ข้อควรคำนึง

    • กริยา/ท่าทาง ทุกอย่างที่แสดงต้องสมจริง (must be real) ไม่ใช่การสมมุติ และต้องถูกต้อง
    • เวลาครูสาธิต ต้องพูดคำสั่งจบก่อนแล้วจึงทำท่าทาง (เพื่อตั้งใจฟังก่อน และป้องกันนักศึกษาทำตามครูโดยที่ไม่เข้าใจ)
    • พูดและทำท่าทางเป็นตัวอย่างให้นักศึกษาดู อย่างน้อย 3 ครั้ง
    • ทุกหนึ่งรอบของการทำท่าทาง ควรจะให้จบกระบวนการ
    • ทุกๆ การสอน ต้องทบทวนบทเรียน/คำศัพท์ในอาทิตย์ที่แล้ว หรืออาทิตย์ที่ผ่านๆ มาโดยครูอาจทำพร้อมนักศึกษา หรือครูสั่งแล้วให้นักศึกษาทำพร้อมกันโดยทบทวนก่อนสอนคำชุดใหม่
    • พูดคำที่ต้องการสอนเท่านั้น สิ่งที่ไม่ต้องการให้นักศึกษารับรู้ก็ไม่จำเป็นต้องพูด
    • จัดสถานที่ให้เหมาะสมกับคำกริยา/คำสั่งที่ต้องการสอน
  2. TPR - O (Total Physical Response - Objects) เป็นการสอนโดยใช้คำสั่งที่มีคำศัพท์ที่เป็นสิ่งของ (objects) เช่น สมุด (book) ปากกา (pen) ดินสอ (pencil) ยางลบ (eraser) ไม้บรรทัด (ruler) แผนที่ (map)โต๊ะ (table) เก้าอี้ (chair) ประตู (door) นาฬิกา (clock) ไฟฉาย (flash light) ดอกไม้ (flower) ใบไม้ (leaf) ก้อนหิน (rock) จาน (plate) ชาม (bowl) แก้วน้ำ (glass) ช้อน (spoon) ส้อม (fork) หวี (comb) กระจก (mirror) เป็นต้น อย่าไปติดการสอนในชั้นเรียนอาจพาผู้เรียนออกนอกห้องเรียน เพื่อเรียนรู้วัตถุสิ่งของต่างๆ หรืออาจใช้เกม bring me (a pen, a red pencil)

    วัตถุประสงค์ ต้องการให้ผู้เรียนฟังคำสั่งให้เข้าใจและทำตามคำสั่ง โดยผู้สอนมีเป้าหมายให้ผู้เรียนรู้จักกลุ่มคำเกี่ยวกับสิ่งของต่างๆ

    ข้อควรคำนึง

    • ต้องพูดหลายครั้งจนแน่ใจว่านักศึกษาเข้าใจ
    • ให้ระวังคำที่มีความหมายใกล้กัน
    • หา
    • กว่าบทเรียนยากเกินไป ครูอาจแบ่งเป็น 2 บทเรียนก็ได้ เพื่อให้เห็นความเชื่อมโยงของเนื้อหา
    • ถ้าหากนักศึกษาทำผิด ครูจะต้องทำให้ดู ทบทวน จนแน่ใจว่า นักศึกษาทำได้ หากนักศึกษาทำไม่ได้ ให้กำลังใจ อย่าทำให้นักศึกษา เสียหน้าหรือขาดความมั่นใจ
  3. วิธีปฏิบัติ
    • ครูเรียกชื่อของสิ่งของ 3 ครั้ง และหยิบของสาธิตให้ดู
    • ห้ตัวแทน 2 คน ออกมาแสดง พร้อมกับครู และให้ผู้เรียนแสดงให้ดู 3 ครั้ง การทำ TPR - O อาจแทรกคำศัพท์ TPR - B ได้เพราะเรียนมาจากบททีแล้ว ผสมกันไปแต่เอาง่ายๆ ก่อน แล้วเพิ่มความยากไปเรื่อยๆ
    • ให้ทุกคนทำพร้อมๆ กัน
    • แบ่งเป็นกลุ่มย่อย(กลุ่มละ 3-5 คน)และปฏิบัติตามคำสั่งของครู โดยให้ผู้เรียนแสดง
  4. TPR - P (Total Physical Response - Picture) เป็นการสอนเกี่ยวกับการออกคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับรูปภาพ การเลือกภาพที่ใช้ในการเรียนการสอนควรใช้ให้เหมาะสมกับนักศึกษา โดยยกตัวอย่างคำถามจากภาพ เมื่อครูถามแล้วให้ผู้เรียนไปชี้ภาพให้ดู ไม่มีการพูดภาพที่ครูกำหนดควรเป็นภาพตัดแปะจะได้เคลื่อนย้าย คน สัตว์ สิ่งของ ไปไว้ตามตำแหน่งต่างๆของภาพได้ เพื่อตรวจสอบว่าผู้เรียน เป็นการสอนโดยใช้คำสั่งที่เกี่ยวข้องกับรูปภาพ มีเป้าหมายให้ผู้เรียนรู้จักกลุ่มคำเกี่ยวกับภาพต่างๆ มี 3 ประเภท คือ

    •  ภาพโปสเตอร์ แผ่นพับ รูปภาพที่มีอยู่แล้ว
    • ภาพตัดแปะจากผ้า หรือ กระดาษ
    • ภาพวาดลายเส้นหรือภาพสีที่ผลิตโดยครูหรือผู้เรียน หรือภูมิปัญญา ท้องถิ่น
  5. หลักการ
    • รูปภาพที่ใช้ต้องมีสิ่งของ/กิจกรรมต่างๆ/ผู้คนที่จะสอนผู้เรียนได้
    • ครูจะสอนให้ผู้เรียนมาชี้ จับ แตะ สิ่งต่างๆในภาพตามที่ครูต้องการสอน
    • การใช้ TPR - P อาจสอนอาทิตย์ละครั้ง แต่ถ้านักศึกษามีความก้าวหน้าอาจใช้สอนมากกว่านี้
    • ภาพหนึ่งอาจสอนได้หลายๆครั้ง โดยอาจสอนเสริมเมื่อผู้เรียนรู้คำศัพท์มามากแล้ว
    • อาจใช้ TPR - B ประกอบการสอน TPR - P เช่น สอนเรื่อง ข้างหน้าข้างหลัง ข้างๆ สอนคำเหล่านี้ก่อน จึงสอนคำจากรูปภาพ
    • ภาพควรเป็นภาพที่เหมาะสมกับบุคคลและสอดคล้องกับสภาพของนักศึกษา
  6. TPR - S (Total Physical Response - Story telling) เป็นการสอนภาษาโดยการเล่าเรื่อง โดยครูเล่าเรื่องคล้ายกับชีวิตประจำวันของนักเรียน หรือเล่านิทาน 2-3 ครั้ง แล้วให้ผู้เรียนมาแสดงละครจากเรื่องที่ครูเล่า หรือบางครั้งอาจเปลี่ยนเป็นอาจารย์อ่านให้ฟัง 1-3 ครั้ง ให้นักศึกษาเขียนขึ้นมาใหม่เหมือนครูเล่าหรือไม่ แสดงว่าผู้เรียนฟังแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน ให้เริ่มจากง่ายๆ ก่อน

    เป็นการสอนเกี่ยวกับการออกคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับรูปภาพ การเลือก ภาพที่ใช้ในการเรียนการสอนควรใช้ให้เหมาะสมกับนักศึกษา โดยยกตัวอย่างคำถามจากภาพ เมื่อครูถามแล้วให้ผู้เรียนไปชี้ภาพให้ดู ไม่มีการพูดภาพที่ครูกำหนดควรเป็นภาพตัดแปะจะได้เคลื่อนย้าย คน สัตว์ สิ่งของ ไปไว้ตามตำแหน่งต่างๆของภาพได้ เพื่อตรวจสอบว่าผู้เรียน รู้จักภาพเหล่านั้นจริงๆ ไม่ใช่การท่องจำภาพเท่านั้นเป็นการสอนที่ใช้เรื่องเล่าการสอนภาษาโดยการใช้รูปภาพ TPR - P

    การสอนภาษาด้วยการเล่าเรื่อง ควรใช้เมื่อผู้เรียนมีความพร้อมด้านภาษาอังกฤษ โดยครูเลเรื่องราวที่คล้ายคลึงกับชีวิตประจำวันของผู้เรียน หรือ นิทานเรื่องง่ายๆ ครูเล่าเรื่องให้ฟังอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นให้ผู้เรียนออกมาแสดงเรื่อง (ตามที่ครูเล่า) โดยไม่ต้องพูด ต่อมาให้ผู้เรียนเล่าเรื่องเอง แล้วให้ผู้เรียนคนอื่นมาแสดงละครตามเรื่องที่ผู้เรียนเล่าให้ฟัง

    จุดประสงค์ของ TPR - S คือ ต้องการให้ผู้เรียนฟังครูพูดให้เข้าใจและทำท่าทาง โดยผู้เรียน ไม่ต้องพูด เพียงแต่แสดงท่าทางประกอบการเล่าเรื่องเท่านั้น
ทำไม TPR จึงมีประสิทธิภาพในการสอนภาษา

  1. มาจากวิธีการที่ทารกเรียนภาษา โดยเริ่มฟังคำพูดจากพ่อแม่
  2. การใช้การเคลื่อนไหวทางร่างกายร่วมกับภาษา
  3. การเรียนรู้ที่ไม่ใช้การพูดจะใช้สมองซีกขวา
ผลดีของการจัดการเรียนการสอนแบบ TPR

  1. เป็นต้นแบบโดยครู ครูพูด ครูทำ ให้ผู้เรียนดูก่อน
  2. เน้นการสาธิต ครูและผู้เรียนอาสาสมัครทำพร้อมกัน
  3. ให้กำลังใจเมื่อผู้เรียนทำไม่ได้ ไม่เร่ง ต้องแน่ใจว่านักศึกษาทำได้ ครูไม่รีบเร่งแต่จะให้ผู้เรียนเข้าใจเอง
  4. ครูให้ผู้เรียนทำเมื่อแน่ใจว่าผู้เรียนเข้าใจแล้ว
  5. มีส่วนขยาย เพิ่มวงคำศัพท์ที่เรียนมาแล้ว
แนวการสอน TPR

  1. แนวทางการสอน TPR อาจสอนเป็นช่วงๆ วันละประมาณ 20 นาที
  2. TPR - B TPR-O TPR - S อาจสอนสลับกันได้
  3. สามารถนำเพลง เกม มาใช้สอนประกอบด้วย เช่น เพลงเกี่ยวกับร่างกายของเรา
  4. การนำ TPR ไปใช้สอนกับวิชาต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์ สุขศึกษา และศิลปะ เป็นต้น
  5. การสอน TPR เป็นการสอนคำศัพท์ใหม่ๆ ครั้งแรกควรสอน ประมาณ 5-10 คำก่อน โดยครูทำให้ดูเป็นต้นแบบ มีการสาธิตทำตามครู แล้วให้ผู้เรียนทำเองตามคำสั่งครู เมื่อเริ่มต้นกำหนดคำที่ต้องใช้ ควรตรวจสอบว่านักศึกษาเข้าใจคำที่ครูพูดหรือไม่
ข้อควรคำนึงกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

  1. การออกแบบกระบวนการเรียนด้านภาษา จะต้องตระหนักให้ผู้เรียน เกิดความเชื่อมั่นในการเรียนรู้แบบต่างๆ เช่น การเรียนด้วยภาพ/สิ่งของ การเรียนด้วยการพูดสนทนา บรรยาย พรรณนา อธิบาย อภิปราย และวิพากษ์วิจารณ์สิ่งต่างๆได้
  2. การถามคำถามปลายเปิด เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการพรรณนา อธิบาย วิพากษ์วิจารณ์เรื่องราวต่างๆได้
  3. สิ่งที่สำคัญที่สุดของการเรียนภาษาที่สองก็คือ ผู้เรียนต้องไม่รู้สึกกลัวหรืออาย การเรียนภาษาที่สอง จะต้องเริ่มจากสิ่งที่นักศึกษารู้ และขึ้นอยู่กับความพร้อมของผู้เรียน และเรื่องที่เรียนรู้จะต้องสนุกสนาน
  4. การสอน TPR ใช้สอนระยะแรกที่ผู้เรียนไม่รู้จักวงคำศัพท์ในภาษาอังกฤษ อาจใช้สอนประมาณ 1-2 เดือนแรกที่เข้าเรียนเท่านั้น
โดย อนงค์ เชื้อนนท์
ที่มาข้อมูล : http://chinozuke3.multiply.com